สาขาวิชาฟิสิกส์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สาขาวิชาฟิสิกส์

คำอธิบายรายวิชา

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1.1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
รหัส คำอธิบายรายวิชา น(ท-ป-ศ)
GELA101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Thai for Communication
3(306)
                   ภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร หลักการ ทฤษฎี การปฏิบัติ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การหาความรู้โดยกระบวนการทักษะสัมพันธ์ การนำเสนอความรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
GELA102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English for Communication
3(306)
                   ภาษาอังกฤษในฐานะเครื่องมือการสื่อสาร หลักการ ทฤษฎี การปฏิบัติ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การบูรณาการทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันตามสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
GELA103 ภาษาอังกฤษเชิงบูรณาการ
Integrated English
3(306)
                       การฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังโดยจับประเด็นและรายละเอียด การพูดเพื่อนำเสนอและอภิปราย การอ่านสรุปความ การอ่านเชิงวิเคราะห์ การอ่านเชิงตีความ และการเขียนแบบสรุปความ
1.2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 
GEHU101 ความงดงามของชีวิต
Beauty of Life
3(306)
                       หลักธรรมชาติของมนุษย์ ความเป็นตัวตน การเข้าใจ เห็นคุณค่าในตนเอง ผู้อื่น ความงดงามของศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ การเสริมสร้าง พัฒนาตนเอง และการประยุกต์ใช้กับสังคมปัจจุบันอย่างมีความสุข
GEHU102 ปรัชญา ศาสนาและพุทธทาสศึกษา
Philosophy, Religions and Buddhadasa Studies
3(306)
                      ความหมาย ขอบข่าย เนื้อหาทางปรัชญาและศาสนา ศึกษาความรู้ ความจริง และความดี ตามทัศนะของปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก ศึกษาประวัติ ปณิธาน 3 ประการ หลักธรรมคำสอน การตีความ และการเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุ
1.3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
GESO101 พลวัตสังคมไทยและสังคมโลก
Dynamic of Thai and Global Societies
3(306)
                      การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของสังคมไทยและสังคมโลกที่มีอิทธิพลต่อมนุษยชาติ การบูรณาการบริบทต่างๆ เพื่อปรับตัวให้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ตระหนัก สำนึก เห็นคุณค่าของความเป็นไทย และพลโลก
GESO102 วิถีชีวิตกับสังคม
Life and Society
3(306)
                       หลักการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม จิตสาธารณะ หน้าที่พลเมือง คุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีวิต ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
GESC101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า
Information Technology and Study
3(2-2-5)
                    แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสารสนเทศและการสื่อสาร กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การใช้แหล่งสารสนเทศ ทักษะการสืบค้นสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า การรวบรวม การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินสารสนเทศ การเรียบเรียงและการอ้างอิงตามรูปแบบมาตรฐาน   การรู้เท่าทันสื่อ การประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์นำเสนอสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
GESC102 การพัฒนาการคิด
Thinking Process Development
3(306)
                       หลักการ ธรรมชาติของการคิด และกระบวนการคิดที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ พัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดแบบองค์รวม และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้และใช้เครื่องมือหรือเทคนิคเพื่อการพัฒนาความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GESC103 สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
Environment and Quality of Life Development
3(2-2-5)
                       สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ การเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม การดูแลสุขภาพตนเองแบบบูรณาการ
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน

2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา

กลุ่มวิชาแกน

SPH0101 ฟิสิกส์ 1
Physics 1
3(3-0-6)
                       การวัดความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการวัด หน่วย ปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์ ตำแหน่ง และการเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งาน กำลัง พลังงาน กฎการอนุรักษ์ของพลังงานและโมเมนตัม ความยืดหยุ่นของวัตถุ กลศาสตร์ของไหล คลื่นกล ปรากฏการณ์ทางความร้อน หลักการเบื้องต้นทางอุณหพลศาสตร์ การขยายตัว การเปลี่ยนสถานะ และการถ่ายเทความร้อน
SPH0102 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
Physics Laboratory 1
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 1 ประกอบด้วยปฏิบัติการเกี่ยวกับเลขนัยสำคัญ กราฟและสมการ การวัดและความผิดพลาด การตกอย่างเสรี การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบเส้นตรงในแนวราบ การเคลื่อนที่เป็นวงกลม การชนใน 2 มิติ สมดุลของแรง ฮาร์มอนิก อย่างง่าย เพนดูลัมอย่างง่าย โมเมนต์ความเฉื่อย
SPH0103 ฟิสิกส์ 2
Physics 2
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0101 ฟิสิกส์ 1
3(3-0-6)
                      ประจุไฟฟ้า กฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า กฎของเกาส์ ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กฎของโอห์ม กฎของเคอร์ชอพฟ์ แรงของลอเรนซ์ สนามแม่เหล็กอันเนื่องมาจากกระแสไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ สารแม่เหล็ก การแกว่งกวัดของสนามไฟฟ้า แสงเชิงเรขาคณิต สเปกตรัมของคลื่นทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ฟิสิกส์ยุคใหม่ ฟิสิกส์นิวเคลียร์
SPH0104 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
Physics Laboratory 2
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0102 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 2 ประกอบด้วย ข้อแนะนำการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้า สนามไฟฟ้า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ากระแสตรง ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ข้อแนะนำในการใช้ออสซิลโลสโคป วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
SCH0101 เคมี 1
Chemistry 1
3(3-0-6)
                      หลักเคมีเบื้องต้น โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ สมบัติของธาตุรีพรีเซนเททีฟและ     แทรนซิชัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์  แก๊ส ของแข็ง ของเหลวสารละลาย กรด-เบส
SCH0102 เคมี 2
Chemistry 2
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: SCH0101 เคมี 1
3(3-0-6)
                      สมดุลเคมี อุณหพลศาสตร์ จลนพลศาสตร์ เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น เคมีไฟฟ้า       เคมีอินทรีย์เบื้องต้น เคมีสิ่งแวดล้อม
SCH0103 ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
Fundamentals of Chemistry Laboratory
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: SCH0101 เคมี 1
1(0-3-2)
                      ปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคการใช้อุปกรณ์พื้นฐานทางเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การแยกของผสม การเตรียมสารละลาย สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสาร   เคมีอินทรีย์เบื้องต้นและสิ่งแวดล้อม  สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก การหาค่าความเป็นกรด- เบส ของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์ การไทเทรต สมบัติทางอุณหพลศาสตร์และจลนพลศาสตร์
SBI0101 ชีววิทยา 1
Biology 1
3(3-0-6)
                       กำเนิดสิ่งมีชีวิต สมบัติของสิ่งมีชีวิต ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ สารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เซลล์ การแบ่งเซลล์ เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ความหลากหลายและการจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิต
SBI0102 ปฏิบัติการชีววิทยา 1
Biological Laboratory 1
1(0-3-2)
                       ปฏิบัติการเรื่องคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรต ลิปิด โปรตีน กรดนิวคลิอิก วิตามิน วิดีโอการกำเนิดสิ่งมีชีวิต การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ การแบ่งเซลล์ เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การเจริญเติบโต การจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิต
SMA0101 แคลคูลัส 1
Calculus 1
3(3-0-6)
                       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแคลคูลัส ลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และปริพันธ์ไม่จำกัดเขต
SMA0102 แคลคูลัส 2
Calculus 2
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : SMA0101 แคลคูลัส 1
3(3-0-6)
                       เทคนิคการหาปริพันธ์ ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ ระบบพิกัดเชิงขั้ว สมการอิงตัวแปรเสริมลำดับและอนุกรมอนันต์ ฟังก์ชันหลายตัวแปร ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันหลายตัวแปร อนุพันธ์ย่อย และสมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น
สำหรับสาขาวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์
SPH0105 วิชาฟิสิกส์ทั่วไป
General Physics
3(3-0-6)
                       ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานในกฎและหลักการต่างๆ ทางฟิสิกส์ ประกอบด้วย การวัด และความเที่ยงตรงในการวัด หน่วย กราฟและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ ปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์ แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับแรง การเคลื่อนที่ของวัตถุและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงานและโมเมนตัม การสั่นและคลื่น
SPH0106 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
General Physics Laboratory
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการทดลอง เพื่อตรวจสอบกฎและหลักการในรายวิชาฟิสิกส์ทั่วไปประกอบด้วย การวัดและความผิดพลาดในการวัด กราฟและสมการ สมดุลแรง การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง การเคลื่อนที่แบบ โพรเจกไทล์ ฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย เพนดูลัมอย่างง่าย โมเมนต์ของความเฉื่อย และคลื่นนิ่งในเส้นเชือก
SPH0107 ฟิสิกส์ในงานอุตสาหกรรม 1
Physics for Industry 1
3(3-0-6)
                       การเคลื่อนที่แบบเปลี่ยนตำแหน่งใน 1 มิติและ 2 มิติ การเคลื่อนที่แบบหมุนงานและพลังงาน กลศาสตร์ของอนุภาคและวัตถุแข็งเกร็ง สมบัติของสสาร กลศาสตร์ของของไหล การสั่นสะเทือน และเสียง ระบบของเลนส์ ทฤษฎีคลื่นของแสงความร้อน และระบบก๊าซอุดมคติเทอร์โมไดนามิกส์ และเครื่องกลจักรความร้อนทฤษฎีจลน์
SPH0108 ฟิสิกส์ในงานอุตสาหกรรม 2
Physics for Industry 2
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : SPH0107 ฟิสิกส์ในงานอุตสาหกรรม 1
3(3-0-6)
                       ไฟฟ้าสถิต กฎของเกาส์ ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า และไดอิเล็กตริก สนามแม่เหล็กแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก กฎของฟาราเดย์ และความเหนี่ยวนำวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ แสงทฤษฎีสัมพัทธภาพ ควอนตัมฟิสิกส์เบื้องต้นอะตอมมิก และนิวเคลียร์ฟิสิกส์
กลุ่มวิชาบังคับ
SPH0201 คณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์
Mathematics for Physics
3(3-0-6)
                       ระบบพิกัดและการแปลงพิกัด สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ อนุกรมกำลัง การแปลง   ลาปลาซ การวิเคราะห์เชิงเวกเตอร์ อนุกรมฟูเรียร์ ผลการแปลงฟูเรียร์ สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
SPH0202 อิเล็กทรอนิกส์
Electronics
3(3-0-6)
                       ทฤษฎีวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ทฤษฎีเบื้องต้นของสารกึ่งตัวนำ การวิเคราะห์วงจรไดโอดและการประยุกต์ วงจรทรานซิสเตอร์ วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้า การวิเคราะห์และออกแบบวงจรขยายสัญญาณน้อยความถี่ต่ำ แนะนำลอจิกเกตและ ออปเปอเรชัน แอมพลิไฟเออร์
SPH0203 ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetic Theory
3(3-0-6)
                      สนามไฟฟ้าสถิต สนามแม่เหล็กสถิต สนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่ขึ้นกับเวลา สมการของแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เวกเตอร์พอยน์ติง และการไหลของกำลังงาน
SPH0204 กลศาสตร์
Mechanics
3(3-0-6)
                       มโนมติของกลศาสตร์ จลนศาสตร์ของอนุภาค พลศาสตร์ของอนุภาค การเคลื่อนที่เชิงเส้นการสั่นแบบฮาร์มอนิก พลังงานและโมเมนตัมเชิงมุม การเคลื่อนที่ภายใต้แรงในแนวผ่านศูนย์กลางการเคลื่อนที่ของระบบอนุภาค วัตถุแข็งเกร็งและโมเมนต์ความเฉื่อย กรอบอ้างอิงแบบหมุน หลักเบื้องต้นของกลศาสตร์แบบลากรานจ์และกลศาสตร์แบบแฮมิลตัน
SPH0205 ปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับกลาง
Intermediate Physics Laboratory 1
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับกลศาสตร์ แม่เหล็กไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
SPH0206 คอมพิวเตอร์สำหรับฟิสิกส์
Computer for Physics
3(2-2-5)
                      ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ การหาผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์ การหาค่าทางสถิติ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การหาผลเฉลยของสมการทางฟิสิกส์ การเขียนและสร้างกราฟเคลื่อนไหวใน 2 มิติ และ 3 มิติ การรับและส่งข้อมูลไปยังไฟล์
SPH0207 ฟิสิกส์ยุคใหม่
Modern Physics
3(3-0-6)
                      ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ ทฤษฎีทวิภาพของคลื่นและอนุภาค ความยาวคลื่นของเดอบรอย หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบอร์ก โครงสร้างอะตอม แบบจำลองอะตอมของบอห์ร อะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน กฎการคัดเลือก หลักการกีดกันของเพาลี ทฤษฎีควอนตัม ฟิสิกส์นิวเคลียร์และอนุภาคมูลฐาน
SPH0208 ทัศนศาสตร์เบื้องต้น
Introduction to Optics
3(3-0-6)
                       ธรรมชาติของแสงและการแผ่รังสี ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิตและการเกิดภาพ อุปกรณ์เชิงแสง ทัศนศาสตร์ของดวงตา แสงและสี การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของแสง โพลาไรเซชัน
SPH0209 การสั่นและคลื่น
Vibrations and Waves
3(3-0-6)
                       การสั่นแบบอิสระ การสั่นแบบหน่วง การสั่นภายใต้แรงภายนอก การสั่นแบบแอน-ฮาร์มอนิก การสั่นในสองพิกัด คลื่นที่ไม่กระจาย ทฤษฎีของฟูเรียร์ การกระจาย คลื่นไม่เชิงเส้น
SPH0210 ปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับกลาง 2
Intermediate Physics Laboratory 2
1(0-3-0)
                       ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ของคลื่นและทัศนศาสตร์
SPH0211 กลศาสตร์ควอนตัม
Quantum Mechanics
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0204 กลศาสตร์
3(3-0-6)
                       แนวคิดเบื้องต้นของกลศาสตร์ควอนตัม ฟังก์ชันคลื่นและความหมายของฟังก์ชันคลื่น ตัวดำเนินการ สมการชเรอดิงเงอร์ ผลเฉลยของสมการชเรอดิงเงอร์ในปัญหาหนึ่งมิติ
SPH0212 ฟิสิกส์เชิงอุณหภาพ
Thermal Physics
3(3-0-6)
                      อุณหภูมิ การขยายตัวของสสาร การวัดปริมาณความร้อน การเปลี่ยนสถานะของสสาร การถ่ายเทความร้อน แก๊สอุดมคติและแก๊สจริง กฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ เอนโทรปีและกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ กฎข้อที่สามของอุณหพลศาสตร์
SPH0213 ระเบียบวิธีวิจัยทางฟิสิกส์
Research Methodology in Physics
3(3-0-6)
                      ความรู้พื้นฐานการวิจัยทางฟิสิกส์ ขั้นตอนการวิจัย การเขียนเค้าโครงวิจัย สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล การเขียนรายงานผลการวิจัย    การเผยแพร่ผลงานวิจัยทางฟิสิกส์
SPH0214 ปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับสูง 1
Advanced Physics Laboratory 1
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ และโครงสร้างของสสาร
SPH0215 ฟิสิกส์นิวเคลียร์
Nuclear Physics
3(3-0-6)
                      ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม องค์ประกอบของนิวเคลียส สมบัติของนิวเคลียส แรงนิวเคลียร์ แบบจำลองนิวเคลียร์ การสลายตัวปล่อยรังสี แอลฟา เบตาและแกมมา ปฏิกิริยานิวเคลียร์ การป้องกันอันตรายจากรังสี
SPH0216 ฟิสิกส์เชิงสถิติ
Statistical Physics
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SMA0102 แคลคูลัส 2
3(3-0-6)
                      ทฤษฎีจลนศาสตร์ของแก๊ส สถิติแบบแมกซ์เวลล์-โบลต์ซมันน์และการประยุกต์ใช้ การกระจายแบบโบส-ไอน์สไตน์ การกระจายแบบเฟอร์มิ-ดิแรก อุณหภูมิและเอนโทรปี               อุณหพลศาสตร์ของแก๊ส ปัญหาของกิบส์ กลุ่มแบบไมโครแคนอนิคอล กลุ่มแบบแคนอนิคอล กลุ่มแบบแกรนด์แคนอนิคอล ปรากฏการณ์วิกฤติแบบจำลองไอซิง
SPH0217 ปฏิบัติการฟิสิกส์ระดับสูง 2
Advanced Physics Laboratory 2 
1(0-3-0)
                      ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับปฏิบัติการทางธรณีฟิสิกส์ ปฏิบัติการทางชีวฟิสิกส์ และปฏิบัติการทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์
SPH0218 สัมมนาฟิสิกส์
Seminar in Physics
1(0-3-0)
                      วิธีการอ่านบทความวิจัยทางฟิสิกส์ ศึกษาค้นคว้างานวิจัยทางฟิสิกส์ อภิปราย วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัย ติดตามผลงานวิจัยทางฟิสิกส์ที่ทันสมัย และนำเสนอผลการศึกษางานวิจัยที่สนใจด้วยปากเปล่า (Oral presentation)
SPH0219 โครงงานฟิสิกส์
Project in Physics
3(0-4-5)
                       โครงงานเพื่อศึกษาวิจัยปัญหาด้านทฤษฎีหรือด้านการปฏิบัติ โดยอยู่ภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ เน้นการวิจัยที่บูรณาการความรู้ทางด้านฟิสิกส์กับศาสตร์สาขาอื่นๆ การเขียนรายงานวิจัย การนำเสนอด้วยปากเปล่า และการนำเสนองานด้วยโปสเตอร์
กลุ่มวิชาเลือก
กลุ่มฟิสิกส์ทั่วไป
SPH0301 กลศาสตร์ประยุกต์
Applied Mechanics
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0204 กลศาสตร์
3(3-0-6)
                       แรง มวลและน้ำหนัก ระบบแรงต่างๆ การรวมแรง แยกแรง ความสมดุลของแรง ความเค้น ความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น ความเครียด โมเมนต์ แรงศักย์ที่จุดรองรับ สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับโครงสร้าง โครงถัก การคำนวณในโครงถักโดยวิธีต่างๆ โครงสร้างที่รับแรงดัด (Flexural formula) ชนิดของคาน การโก่งของคาน โครงสร้างที่รับแรงตามแนวแกนและแรงตัดร่วมกัน
SPH0302 ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
Physics in Daily Life
3(3-0-6)
                      หลักการทางฟิสิกส์พื้นฐาน ได้แก่ แรงและการเคลื่อนที่ งาน พลังงานและกำลัง สมบัติของสสาร ความร้อนและอุณหพลศาสตร์ คลื่นและเสียง แสงและการมองเห็น ไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และนิวเคลียร์ฟิสิกส์ โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
SPH0303 ภาษาอังกฤษสำหรับฟิสิกส์
English for Physics
3(3-0-6)
                       คำศัพท์เทคนิคทางด้านฟิสิกส์ การวิเคระห์คำศัพท์จากบริบท คำศัพท์จากข่าว การวิเคราะห์คำ การวิเคราะห์ประโยคและย่อหน้า เทคนิคการจดบันทึกและการสรุป หลักการอ่านบทความทางฟิสิกส์ การเขียนบทความทางฟิสิกส์ การนำเสนอผลงานวิจัยทางฟิสิกส์
SPH0304 ชีวฟิสิกส์เบื้องต้น
Introduction to Biophysics
3(3-0-6)
                      โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ สมบัติเชิงกลของเยื่อหุ้มเซลล์ สมบัติทางไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์ ของเหลวและสมดุลไอออนของเซลล์ชีวภาพ การวิเคราะห์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ของฟลักซ์  ศักย์การแพร่ การแลกเปลี่ยนไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ สนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เซลล์เดี่ยวในสนามไฟฟ้า ปัจจัยทางกายภาพในสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต
SPH0305 ชีวฟิสิกส์ประยุกต์
Applied Biophysics
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0304 ชีวฟิสิกส์เบื้องต้น
3(3-0-6)
                      การจัดการเซลล์ด้วยไฟฟ้า การประยุกต์ใช้ชีวฟิสิกส์ในด้านการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ ชีวรังสีและการประยุกต์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวฟิสิกส์และนำเสนอผลการศึกษางานวิจัยด้านชีวฟิสิกส์อย่างน้อย 1 เรื่อง
SPH0306 อุตุนิยมวิทยา
Meteorology
3(3-0-6)
                       ธรรมชาติและขอบเขตของอุตุนิยมวิทยา สมบัติทางกายภาพบรรยากาศ การถ่ายเทความร้อน การควบแน่นและหยาดน้ำฟ้า ลม แผนที่อากาศ การตรวจวัดสภาพอากาศและเครื่องมือวัด การใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาสำหรับการเกษตร การชลประทาน การคมนาคม และการอุตสาหกรรมของสังคมไทย
SPH0307 ธรณีฟิสิกส์
Geophysics
3(3-0-6)
                            สมบัติทางฟิสิกส์ของภายในโลก วิธีการทางธรณีฟิสิกส์ การตรวจการคลื่นไหว สะเทือน การตรวจสมบัติทางแม่เหล็ก การวัดสนามโน้มถ่วงและการวัดสภาพต้านทานไฟฟ้า การศึกษารอยเลื่อน โดยอาศัยความสัมพันธ์กับกัมมันตรังสีในธรรมชาติ การประยุกต์ด้านสำรวจ  อุทกวิทยา แหล่งแร่ แหล่งน้ำมันและด้านวิศวกรรม ศึกษานอกสถานที่โดยเน้นกระบวนการวิจัย
SPH0308 ดาราศาสตร์
Astronomy
3(2-2-5)
                       ระบบสุริยะ กฎเคปเลอร์ ดาวเทียม เทคนิคและกระบวนการสังเกตท้องฟ้า กลุ่มแก๊ส เนบูลา ดาวฤกษ์ ดาราจักร ควอซาร์ คลื่นวิทยุ อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ โดยให้อธิบายและคำนวณด้วยกฎเกณฑ์และทฤษฎีฟิสิกส์ ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์
SPH0309 พลังงานนิวเคลียร์และสิ่งแวดล้อม
Nuclear Energy and Environment
3(3-0-6)
                      แหล่งพลังงานนิวเคลียร์ ปฏิกิริยาการแตกตัวแบบลูกโซ่ เชื้อเพลิง เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชิ้นส่วนประกอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อุบัติเหตุนิวเคลียร์ การจัดการกากนิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ผลกระทบของรังสีต่อสิ่งมีชีวิต ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดรังสีในสิ่งแวดล้อม การแพร่การกระจายของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อม
SPH0310 เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
Electronic Instrumentations
3(2-2-5)
                       การวัด หน่วยของการวัด ความเที่ยงตรง และความแม่นยำในการวัด การเก็บ ข้อมูลในการวัดค่าเฉลี่ย แกลแวนอมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ และการออกแบบ Electrodynamics electronics phase meter วงจรบริดจ์แบบต่างๆ และการวัดวงจรอิมพิแดนซ์ด้วยวงจรบริดจ์ หลักการวัดความถี่แบบต่างๆ การวัดความถี่ด้วยวงจร เรโซแนนซ์ การใช้ออสซิลโลสโคป การวัดขนาดของรูปสัญญาณต่างๆ การวัดความถี่ การวัดมุมเฟส การเปลี่ยนสัญญาณ A/D และ D/A การเปลี่ยนแรงดันเป็นความถี่ การใช้แทรนส์ดิวเซอร์ (Transducer) ในการวัดค่าต่างๆ และเครื่องที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
SPH0311 ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
Solid State Physics
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0211 กลศาสตร์ควอนตัม
3(3-0-6)
                       โครงสร้างผลึก การเลี้ยวเบนของคลื่นและโครงสร้างส่วนกลับ การยึดเหนี่ยวกันในผลึก การสั่นไหวของโครงผลึก สมบัติเชิงความร้อนของของแข็ง แก๊สอิเล็กตรอนอิสระ อิเล็กตรอนในศักย์แบบคาบ ทฤษฎีแถบพลังงานของอิเล็กตรอน พื้นผิวเฟอร์มิ
SPH0312 สภาพนำยวดยิ่งเบื้องต้น
Introduction to superconductors
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0311 ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
3(3-0-6)
                      ปรากฏการณ์ของสภาพนำไฟฟ้าแบบยวดยิ่ง ประเภทของตัวนำยวดยิ่ง  ทฤษฎีของตัวนำยวดยิ่งแบบมหภาคและจุลภาค การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง การเตรียมตัวนำยวดยิ่งของสารประกอบ การวัดสมบัติบางประการของตัวนำยวดยิ่งของสารประกอบ การวัดสมบัติบางประการของตัวนำยวดยิ่งของสารประกอบ การประยุกต์ใช้ตัวนำยวดยิ่ง แนวทาง ในการวิจัยและพัฒนาของตัวนำยวดยิ่ง
SPH0313 เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
Renewal Energy Technology
3(3-0-6)
                       แหล่งกำเนิดของพลังงาน ปัญหาด้านพลังงาน ศักยภาพ ความจำเป็น และแหล่งพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานจากชีวมวล ไบโอดีเซล ไฮโดรเจน เป็นต้น ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงาน ผลกระทบของการใช้พลังงาน และการแก้ปัญหาด้านพลังงาน
2.2) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา
แผน 1
SPH0401 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
Preparation for Professional Experience
1(45)
                   เตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง
SPH0402 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
Professional Experience
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0401การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
6(560)
                      ฝึกงานในหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 560 ชั่วโมง โดยมีอาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงานในสถานประกอบการเป็นที่ปรึกษา และมีข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการนั้น พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปการปฏิบัติงาน และนำเสนองานหลัง      การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
แผน 2
SPH0403 การเตรียมสหกิจศึกษา
Pre-Cooperative Education
1(45)
                   เตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ด้านบุคลิกภาพ การใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ และการทำโครงงานวิจัย โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง
SPH0404 สหกิจศึกษา
Cooperative Education
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : SPH0403การเตรียมสหกิจศึกษา
6(560)
                     ปฏิบัติงานในหน่วยราชการหรือเอกชน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 560 ชั่วโมง และมีการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานที่ไปฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 เรื่อง พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปผลการวิจัย และนำเสนองานวิจัยหลังการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศ    และผู้นิเทศงานในสถานประกอบการเป็นที่ปรึกษา และมีข้อตกลงร่วมกับสถานประกอบการ