โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทางฟิสิกส์สู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นกระบวนการศึกษาคนคว้าหาความจริงที่จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน เพื่อใหได้มาซึ่งองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ และผลของการวิจัยนั้นสามารถนําประโยชน์สู่องค์กร สังคม และประเทศชาติได้ ในประเทศ ที่กําลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างให้ความสําคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไปกับเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ประเทศที่มุงหวังจะ มีความรุดหนาทางด้านเศรษฐกิจเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน จึงต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยเฉพาะฟิสิกส์ซึ่งเป็นฐานรากที่สําคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง และเทคโนโลยีอนาคต     ดังนั้น ทางสาขาวิชาฟิสิกส์ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญดังกล่าว จึงได้กําหนดจัดโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการทางฟิสิกส์สู่การพัฒนาทองถิ่นที่ยั่งยืน โดยมีเป้าประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู์ทางฟิสิกส์ ที่ได้จากกระบวนการวิจัยซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนาระบบการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพให้กับครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะเป็น แนวทางในการสรางสรรค์โครงงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โดยการนําองค์ความรู้ดังกล่าวไปบริการวิชาการแกสังคมชุมชนอันเป็นภารกิจ หลักอย่างหนึ่งของสาขาวิชาฟิสิกส์ ที่คํานึงถึงการบูรณาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างเป็นระบบ จากคณาจารย์ ผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและนักศึกษาวิชาฟิสิกส์ในฐานะผู้ช่วยนักวิจัย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ได้จาก กระบวนการวิจัย ซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนา ระบบการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้หรือประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัย
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยและกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการทํางานวิจัยในโรงเรียนระดับมัธยม
  4. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัยทางฟิสิกส์และการประยุกต์ใช้เพื่อการต่อยอดงานวิจัย
  5. เพื่อนําองค์ความรู้ทางฟิสิกส์และแนวคิดจากงานวิจัยไปปร ะยุกต์ใช้ในการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้
  6. เพื่อพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ให้มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ทางฟิสิกส์โดยอาศัย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการเป็นผู้ชวยวิทยากรในการจัดอบรม

เป้าหมาย

  1. นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ชั้นปีที่ ๑ และ ปีที่ ๒  จํานวน ๓๙ คน
  2. ครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  จํานวน ๔๐ คน

วิธีการดำเนินการ

  1. ประชุมสาขาวิชาฟิสิกส์เพื่อจัดทําโครงการ
  2. จัดทําโครงการเสนอและขออนุมัติโครงการ
  3. ติดต่อโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยฯ
  4. จัดทําเอกสารประกอบการอบรม
  5. ดําเนินโครงการ
  6. สรุป/ประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงาน

สถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 25 และวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556 ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

งบประมาณ

53,650 บาท (ห้าหมื่นสามพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ได้จาก กระบวนการวิจัย ซึ่งจะทําให้เกิดการพัฒนา ระบบการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพิ่มพูนองค์ความรู้หรือประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัย
  3. ได้เครือข่ายงานวิจัยและกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการทํางานวิจัยในโรงเรียนระดับมัธยม
  4. แลกเปลี่ยนเรียนรูประสบการณ์ด้านการวิจัยทางฟิสิกส์และสามารถนําไปต่อยอดงานวิจัยได้
  5. ครูในระดับมัธยมศึกษาสามารถนําความรู้ทางฟิสิกส์และแนวคิดจากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้
  6. นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ทางฟิสิกส์โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการจัดอบรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

บุคลากรสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผู้ประสานงาน

  1. นางชุติมา  วิชัยดิษฐ          โทร. 086-6863859
  2. นางสาวโนรี หลงหัน           โทร. 081-6790248
  3. นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี  โทร. 087-2731535